- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25 กันยายน-1 ตุลาคม 2563
ข้าว
1) สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2)โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต
ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ วงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพ
อยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นรวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี2562กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อยอัตราไร่ละ 500 บาทครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูก
ที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้วเว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,623 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,958 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.59
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,255 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,305 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,150 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,990 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.14
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,233 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 922 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,639 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.39 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ406 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,528 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 492ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,282 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 246 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 479 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,026 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 477ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,816 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 210 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 501 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,716 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 505ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,686 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 30 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.3702 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า สหภาพยุโรป (EU) เปิดให้นำเข้าข้าวงวดเดือนตุลาคม 2563 ปริมาณ 24,833.42 ตัน
ภาษี 0% โดยเปิดให้ยื่นขอหนังสือรับรองการส่งออกข้าวไป EU ตั้งแต่ 29 กันยายน - 14 ตุลาคม 2563 โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษ คาดว่าจะช่วยผลักดันข้าวคุณภาพดีของไทยเข้าสู่ตลาด EU ได้เพิ่มมากขึ้น
นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 คณะกรรมาธิการยุโรป
ได้ออกประกาศปริมาณโควตาคงเหลือสำหรับข้าวขาว (ข้าวขาวหอมมะลิไทย ข้าวหอมไทย และข้าวนึ่งชนิด 100%)
งวดเดือนตุลาคม 2563 ปริมาณ 24,833.42 ตัน โดยไม่จำกัดแหล่งกำเนิดสินค้า และจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 0% จึงเป็นโอกาสดีของผู้ส่งออกข้าวไทยที่จะผลักดันการส่งออกข้าวคุณภาพดีของไทยส่ง EU ได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากข้าวไทย เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของตลาด EU
ทั้งนี้ EU ได้กำหนดให้ผู้นำเข้าของ EU ต้องยื่นขอใบอนุญาตนำเข้า (Import Licences - IL) ภายใน 10 วันทำการแรกของเดือนตุลาคม 2563 และในส่วนของผู้ส่งออกข้าวไทยที่ประสงค์จะใช้สิทธิโควตาดังกล่าว ต้องยื่นขอหนังสือรับรอง
การส่งออกข้าวไป EU (Export Certificate : EC) กับกรมฯ เพื่อส่งให้ผู้นำเข้ายื่นขอ Import Licences กับหน่วยงานของEU สำหรับการนำเข้าข้าวต่อไป
ทั้งนี้ กรมฯ จะเปิดให้ผู้ส่งออกข้าวที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าวไว้กับกรมฯ และมีสถานภาพเป็นผู้ส่งออกข้าว ยื่นขอหนังสือรับรองการส่งออกข้าวไป EU งวดเดือนตุลาคม 2563 ได้ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน - 14 ตุลาคม 2563 โดย
ยื่นคำร้องผ่านระบบการให้บริการออกใบอนุญาต และออกหนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้าสินค้าทั่วไปทาง http://edi2.dft.go.th และติดต่อขอรับหนังสือรับรอง EC ฉบับจริง
โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม - สิงหาคม) ไทยส่งออกข้าวไป EU ปริมาณทั้งสิ้น 146,362 ตัน มูลค่า 140.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 4,382.56 ล้านบาท
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับตัวลดลง เนื่องจากเริ่มมีผลผลิตข้าวจากฤดูกาลใหม่ (the autumnwinter crop) ในบางจังหวัดทางเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong Delta) เช่น Bac Lieu และ Dong Thap เริ่มออกสู่ตลาดบ้างแล้ว ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศอ่อนตัวลงโดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในช่วงนี้ชะลอการนำเข้า เนื่องจากกำลังเก็บเกี่ยวข้าวในประทศ โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 470-475 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 485-490 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
วงการค้าข้าวคาดว่าราคาข้าวมีแนวโน้มอ่อนตัวลงในช่วงเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ เพราะคาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูใหม่จำนวนมาก ขณะที่คาดว่าฟิลิปปินส์จะกลับมาซื้อข้าวอีกครั้งในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า
The Oceanic Agency and Shipping Service ระบุว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 3 - 13 ตุลาคม 2563
มีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 2 ลำ จะเข้ามาจอดรอรับข้าวประมาณ 52,00 ตัน ที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City Port
โดยกรมศุลกากรเวียดนาม (the Customs Department) รายงานว่า ในเดือนสิงหาคม 2563 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 605,566 ตัน มูลค่าประมาณ 304.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 502.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่า รวมทั้งราคาส่งออก เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ26.3 ร้อยละ 31 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (เดือนกรกฎาคม 2563 เวียดนามส่งออกข้าว 479,633 ตัน มูลค่าประมาณ 232.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 484 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม - สิงหาคม) เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 4,605,781 ตัน มูลค่าประมาณ 2,253.152 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 และร้อยละ 13.08 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 489.2 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ประเทศที่เวียดนามส่งออกข้าวไปมากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์ ซึ่งส่งออกประมาณ 1.718 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 797.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 2.42 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีที่ผ่านมา) คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 37.31 และร้อยละ35.4 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ รองลงมา คือ จีน ประมาณ 0.536 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 316.932 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.32 และร้อยละ 82.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 11.64 และร้อยละ14.07 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) มาเลเซีย ประมาณ 0.45 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 192.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04 และร้อยละ 19.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ9.78 และร้อยละ 8.54 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลำดับ) กาน่า ประมาณ 0.359 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 187.686 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.19 และร้อยละ 56.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 7.8 และร้อยละ 8.3 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) ไอวอรี่โคสต์ ประมาณ 0.343 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 156.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 3.33 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 7.46 และร้อยละ 6.94 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) อิรัก ประมาณ 0.09 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 47.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 66.68 และร้อยละ 65.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.95 และร้อยละ 2.11 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ)
สิงคโปร์ ประมาณ 73,593 ตัน มูลค่าประมาณ 40.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.17 และร้อยละ 24.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) อินโดนีเซียประมาณ 64,943 ตัน มูลค่าประมาณ 36.212 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 132.5 และร้อยละ 193.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ฮ่องกง ประมาณ 54,985 ตัน มูลค่าประมาณ 30.683 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 35.54 และร้อยละ 29.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) โมซัมบิก ประมาณ 46,221 ตัน มูลค่าประมาณ 22.928 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ52.59 และร้อยละ62.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) เซเนกัล ประมาณ 42.061 ตัน มูลค่าประมาณ 14.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 245.58 และร้อยละ 255.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา)
สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ประมาณ 36,186 ตัน มูลค่าประมาณ 20.232 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.61 และร้อยละ 22.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ซาอุดิอาระเบีย ประมาณ 24,340 ตัน มูลค่าประมาณ 14.194 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.73 และร้อยละ 22.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ออสเตรเลีย ประมาณ 18,626 ตัน มูลค่าประมาณ 11.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.88 และร้อยละ 47.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) สหรัฐฯ ประมาณ 13,901 ตัน มูลค่าประมาณ 9.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.23 และร้อยละ 33.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ไต้หวัน ประมาณ 14,561 ตัน มูลค่าประมาณ 8.117 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 11.17 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) แทนซาเนีย ประมาณ 13,595 ตัน มูลค่าประมาณ 7.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 8.46 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) รัสเซีย ประมาณ 7,517 ตัน มูลค่าประมาณ 3.227 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 57.03 และร้อยละ 55.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) เป็นต้น
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า เกษตรกรในพื้นที่สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำโขงจะเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิตฤดูหนาว – ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring rice) ประมาณ 337,500 ไร่ เป็นประมาณ 10 ล้านไร่ แม้ว่าจะเกิดภาวะแห้งแล้งและดินเค็มก็ตาม ซึ่งคาดว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบประมาณ 606,000 ไร่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลแนะนำให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ระยะเวลาเพาะปลูกสั้นในพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านไร่ และควรเริ่มเพาะปลูกก่อนช่วงต้นเดือนตุลาคม 2563 นอกจากนี้ มีรายงานว่า ระดับน้ำในจังหวัด An Giang อยู่ในระดับ
ที่ต่ำกว่าปีที่แล้วประมาณร้อยละ 30 - 40 โดยในพื้นที่สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำโขงมีการสร้างระบบชลประทานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ประมาณ 4.37 ล้านไร่ นอกจากนี้ รัฐบาลยังแนะนำให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นในพื้นที่ประมาณ 625,000 ไร่ด้วย
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินโดนีเซีย
ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย ได้ประกาศโครงการพัฒนาพื้นที่ประมาณ 4.81 ล้านไร่ สำหรับ
ทำการเกษตรเพื่อเป็นธนาคารอาหารของประเทศ และลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีวิโดโด ได้เปิดเผยโครงการนี้ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา โดยโครงการ Food Estate Project ได้กำหนดเป้าหมายว่า จะขยายครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4.81 ล้านไร่ หรือขนาดใหญ่กว่าเกาะสิงคโปร์ 10 เท่า เพื่อใช้ปลูกข้าวประมาณ 925,000 ไร่ และอีกประมาณ 3.89 ล้านไร่ สำหรับเพาะปลูกพืช
ที่ไม่ต้องใช้ระบบชลประทาน เช่น มันสำปะหลัง และข้าวโพด
โครงการนี้จะเริ่มในพื้นที่เขต Central Kalimantan บนเกาะ Borneo และที่เขต North Sumatra และจะขยายไปยังพื้นที่ในเขต West Papua, East Nusa Tenggara, และ South Sumatra โดยจุดประสงค์ของโครงการนี้เป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้าเพื่อป้องกันวิกฤตอาหารโลก เช่น กรณีของการแพร่ระบาดของ COVID-19 และเพื่อเตรียมพร้อมรับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไปจนถึงลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหาร
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2)โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว | ราคาประกันรายได้ | ครัวเรือนละไม่เกิน |
(บาท/ตัน) | (ตัน) | |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 15,000 | 14 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 14,000 | 16 |
ข้าวเปลือกเจ้า | 10,000 | 30 |
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 11,000 | 25 |
ข้าวเปลือกเหนียว | 12,000 | 16 |
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต
ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ วงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพ
อยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นรวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี2562กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อยอัตราไร่ละ 500 บาทครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูก
ที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้วเว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,623 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,958 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.59
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,255 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,305 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,150 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,990 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.14
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,233 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 922 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,639 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.39 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ406 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,528 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 492ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,282 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 246 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 479 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,026 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 477ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,816 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 210 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 501 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,716 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 505ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,686 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 30 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.3702 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า สหภาพยุโรป (EU) เปิดให้นำเข้าข้าวงวดเดือนตุลาคม 2563 ปริมาณ 24,833.42 ตัน
ภาษี 0% โดยเปิดให้ยื่นขอหนังสือรับรองการส่งออกข้าวไป EU ตั้งแต่ 29 กันยายน - 14 ตุลาคม 2563 โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษ คาดว่าจะช่วยผลักดันข้าวคุณภาพดีของไทยเข้าสู่ตลาด EU ได้เพิ่มมากขึ้น
นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 คณะกรรมาธิการยุโรป
ได้ออกประกาศปริมาณโควตาคงเหลือสำหรับข้าวขาว (ข้าวขาวหอมมะลิไทย ข้าวหอมไทย และข้าวนึ่งชนิด 100%)
งวดเดือนตุลาคม 2563 ปริมาณ 24,833.42 ตัน โดยไม่จำกัดแหล่งกำเนิดสินค้า และจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 0% จึงเป็นโอกาสดีของผู้ส่งออกข้าวไทยที่จะผลักดันการส่งออกข้าวคุณภาพดีของไทยส่ง EU ได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากข้าวไทย เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของตลาด EU
ทั้งนี้ EU ได้กำหนดให้ผู้นำเข้าของ EU ต้องยื่นขอใบอนุญาตนำเข้า (Import Licences - IL) ภายใน 10 วันทำการแรกของเดือนตุลาคม 2563 และในส่วนของผู้ส่งออกข้าวไทยที่ประสงค์จะใช้สิทธิโควตาดังกล่าว ต้องยื่นขอหนังสือรับรอง
การส่งออกข้าวไป EU (Export Certificate : EC) กับกรมฯ เพื่อส่งให้ผู้นำเข้ายื่นขอ Import Licences กับหน่วยงานของEU สำหรับการนำเข้าข้าวต่อไป
ทั้งนี้ กรมฯ จะเปิดให้ผู้ส่งออกข้าวที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าวไว้กับกรมฯ และมีสถานภาพเป็นผู้ส่งออกข้าว ยื่นขอหนังสือรับรองการส่งออกข้าวไป EU งวดเดือนตุลาคม 2563 ได้ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน - 14 ตุลาคม 2563 โดย
ยื่นคำร้องผ่านระบบการให้บริการออกใบอนุญาต และออกหนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้าสินค้าทั่วไปทาง http://edi2.dft.go.th และติดต่อขอรับหนังสือรับรอง EC ฉบับจริง
โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม - สิงหาคม) ไทยส่งออกข้าวไป EU ปริมาณทั้งสิ้น 146,362 ตัน มูลค่า 140.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 4,382.56 ล้านบาท
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับตัวลดลง เนื่องจากเริ่มมีผลผลิตข้าวจากฤดูกาลใหม่ (the autumnwinter crop) ในบางจังหวัดทางเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong Delta) เช่น Bac Lieu และ Dong Thap เริ่มออกสู่ตลาดบ้างแล้ว ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศอ่อนตัวลงโดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในช่วงนี้ชะลอการนำเข้า เนื่องจากกำลังเก็บเกี่ยวข้าวในประทศ โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 470-475 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 485-490 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
วงการค้าข้าวคาดว่าราคาข้าวมีแนวโน้มอ่อนตัวลงในช่วงเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ เพราะคาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูใหม่จำนวนมาก ขณะที่คาดว่าฟิลิปปินส์จะกลับมาซื้อข้าวอีกครั้งในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า
The Oceanic Agency and Shipping Service ระบุว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 3 - 13 ตุลาคม 2563
มีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 2 ลำ จะเข้ามาจอดรอรับข้าวประมาณ 52,00 ตัน ที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City Port
โดยกรมศุลกากรเวียดนาม (the Customs Department) รายงานว่า ในเดือนสิงหาคม 2563 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 605,566 ตัน มูลค่าประมาณ 304.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 502.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่า รวมทั้งราคาส่งออก เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ26.3 ร้อยละ 31 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (เดือนกรกฎาคม 2563 เวียดนามส่งออกข้าว 479,633 ตัน มูลค่าประมาณ 232.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 484 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม - สิงหาคม) เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 4,605,781 ตัน มูลค่าประมาณ 2,253.152 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 และร้อยละ 13.08 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 489.2 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ประเทศที่เวียดนามส่งออกข้าวไปมากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์ ซึ่งส่งออกประมาณ 1.718 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 797.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 2.42 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีที่ผ่านมา) คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 37.31 และร้อยละ35.4 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ รองลงมา คือ จีน ประมาณ 0.536 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 316.932 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.32 และร้อยละ 82.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 11.64 และร้อยละ14.07 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) มาเลเซีย ประมาณ 0.45 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 192.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04 และร้อยละ 19.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ9.78 และร้อยละ 8.54 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลำดับ) กาน่า ประมาณ 0.359 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 187.686 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.19 และร้อยละ 56.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 7.8 และร้อยละ 8.3 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) ไอวอรี่โคสต์ ประมาณ 0.343 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 156.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 3.33 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 7.46 และร้อยละ 6.94 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) อิรัก ประมาณ 0.09 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 47.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 66.68 และร้อยละ 65.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.95 และร้อยละ 2.11 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ)
สิงคโปร์ ประมาณ 73,593 ตัน มูลค่าประมาณ 40.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.17 และร้อยละ 24.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) อินโดนีเซียประมาณ 64,943 ตัน มูลค่าประมาณ 36.212 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 132.5 และร้อยละ 193.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ฮ่องกง ประมาณ 54,985 ตัน มูลค่าประมาณ 30.683 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 35.54 และร้อยละ 29.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) โมซัมบิก ประมาณ 46,221 ตัน มูลค่าประมาณ 22.928 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ52.59 และร้อยละ62.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) เซเนกัล ประมาณ 42.061 ตัน มูลค่าประมาณ 14.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 245.58 และร้อยละ 255.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา)
สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ประมาณ 36,186 ตัน มูลค่าประมาณ 20.232 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.61 และร้อยละ 22.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ซาอุดิอาระเบีย ประมาณ 24,340 ตัน มูลค่าประมาณ 14.194 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.73 และร้อยละ 22.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ออสเตรเลีย ประมาณ 18,626 ตัน มูลค่าประมาณ 11.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.88 และร้อยละ 47.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) สหรัฐฯ ประมาณ 13,901 ตัน มูลค่าประมาณ 9.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.23 และร้อยละ 33.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ไต้หวัน ประมาณ 14,561 ตัน มูลค่าประมาณ 8.117 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 11.17 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) แทนซาเนีย ประมาณ 13,595 ตัน มูลค่าประมาณ 7.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 8.46 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) รัสเซีย ประมาณ 7,517 ตัน มูลค่าประมาณ 3.227 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 57.03 และร้อยละ 55.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) เป็นต้น
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า เกษตรกรในพื้นที่สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำโขงจะเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิตฤดูหนาว – ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring rice) ประมาณ 337,500 ไร่ เป็นประมาณ 10 ล้านไร่ แม้ว่าจะเกิดภาวะแห้งแล้งและดินเค็มก็ตาม ซึ่งคาดว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบประมาณ 606,000 ไร่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลแนะนำให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ระยะเวลาเพาะปลูกสั้นในพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านไร่ และควรเริ่มเพาะปลูกก่อนช่วงต้นเดือนตุลาคม 2563 นอกจากนี้ มีรายงานว่า ระดับน้ำในจังหวัด An Giang อยู่ในระดับ
ที่ต่ำกว่าปีที่แล้วประมาณร้อยละ 30 - 40 โดยในพื้นที่สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำโขงมีการสร้างระบบชลประทานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ประมาณ 4.37 ล้านไร่ นอกจากนี้ รัฐบาลยังแนะนำให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นในพื้นที่ประมาณ 625,000 ไร่ด้วย
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินโดนีเซีย
ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย ได้ประกาศโครงการพัฒนาพื้นที่ประมาณ 4.81 ล้านไร่ สำหรับ
ทำการเกษตรเพื่อเป็นธนาคารอาหารของประเทศ และลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีวิโดโด ได้เปิดเผยโครงการนี้ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา โดยโครงการ Food Estate Project ได้กำหนดเป้าหมายว่า จะขยายครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4.81 ล้านไร่ หรือขนาดใหญ่กว่าเกาะสิงคโปร์ 10 เท่า เพื่อใช้ปลูกข้าวประมาณ 925,000 ไร่ และอีกประมาณ 3.89 ล้านไร่ สำหรับเพาะปลูกพืช
ที่ไม่ต้องใช้ระบบชลประทาน เช่น มันสำปะหลัง และข้าวโพด
โครงการนี้จะเริ่มในพื้นที่เขต Central Kalimantan บนเกาะ Borneo และที่เขต North Sumatra และจะขยายไปยังพื้นที่ในเขต West Papua, East Nusa Tenggara, และ South Sumatra โดยจุดประสงค์ของโครงการนี้เป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้าเพื่อป้องกันวิกฤตอาหารโลก เช่น กรณีของการแพร่ระบาดของ COVID-19 และเพื่อเตรียมพร้อมรับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไปจนถึงลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหาร
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.70 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.60 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.29 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.97
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,599 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 314.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,766 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 167 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 371.60 เซนต์ (4,652 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 369.80 เซนต์ (4,584 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 68 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 27.347 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.14 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35 แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 11.98 และร้อยละ 12.45 ตามลำดับ โดยเดือนกันยายน 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.68 ล้านตัน (ร้อยละ 2.52 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยเนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว และหัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.78 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.10 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.11 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.14
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.327 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.239 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.348 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.243 ล้านตัน ของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 1.56 และร้อยละ 1.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.64 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 4.22 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.95
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 25.30 บาท ลดลงจาก กก.ละ 25.35 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.20
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียสูงขึ้น 2.8 เปอร์เซ็นต์ โดยราคาอ้างอิง เดือนธันวาคม ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย อยู่ที่ 2,790 ริงกิต ราคาสูงขึ้นเป็นผลมาจากราคาน้ำมันถั่วเหลืองที่สูงขึ้นเนื่องจาก USDA รายงานว่าสต็อกลดลงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งสำนักงานศุลกากรและป้องกันชายแดนสหรัฐฯ (CBP) ห้ามนำเข้าน้ำมันปาล์มและสินค้าจากปาล์มน้ำมันของบริษัท FGV Holdings Berhad ของมาเลเซีย จากประเด็นปัญหาเรื่องการละเมิดกฎหมายแรงงานของบริษัท แต่ไม่มีผลกระทบต่อการนำเข้าแต่อย่างไร เนื่องจากสามารถนำเข้าจากบริษัทอื่นแทนได้
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,922.74 ดอลลาร์มาเลเซีย (22.53 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,006.09 ดอลลาร์มาเลเซีย (23.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.77
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 744.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23.68 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 759.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.96
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
- สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1007.68 เซนต์ (11.17 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1019.96 เซนต์ (11.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.20
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 336.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.69 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 336.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.15
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.00 เซนต์ (23.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 33.64 เซนต์ (23.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.90
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1007.68 เซนต์ (11.17 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1019.96 เซนต์ (11.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.20
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 336.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.69 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 336.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.15
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.00 เซนต์ (23.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 33.64 เซนต์ (23.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.90
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.30 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.80 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.20 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.75
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.20 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 17.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,053.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,064.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 886.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.82 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 902.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.02 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.20 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,092.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.26 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,064.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.61 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.20 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 578.40 ดอลลาร์สหรัฐ (18.14 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 577.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.20 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,207.80 ดอลลาร์สหรัฐ (37.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,220.40 ดอลลาร์สหรัฐ (37.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.14 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.65
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 65.73 เซนต์(กิโลกรัมละ 46.07 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 64.19 เซนต์ (กิโลกรัมละ 44.56 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.40 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.51 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,892 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,503 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 900 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เพราะใกล้เข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 77.97บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 74.36 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.74 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.34 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 79.60 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อและชิ้นส่วนต่างๆ ของไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เพราะใกล้เข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.94บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท กิโลกรัม ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.01 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.43 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 7.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไข่ไก่ใกล้เคียงกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคา
จะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เพราะใกล้เข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 281 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 280 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 299 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 277 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 305บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 345 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 343 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.57 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 359 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 359 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 320 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 94.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.75 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.81 บาท และภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.50 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 – 24 กันยายน 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 137.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 138.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.43 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 70.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.23 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 – 24 กันยายน 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 137.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 138.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.43 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 70.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.23 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา